นางสาวดั่งชนก ตรีรัตน์ศิริกุล 5202113162
นางสาวกาญจนา แซ่พ่าน 5202115068
นางสาวกาญจนา แซ่พ่าน 5202115068
Health Informatics
Health informatics หรือเรียกว่า health care informatics, healthcare informatics, medical informatics, biomedical informatics
· คือการนำข้อมูลที่เกี่ยวกับทางด้านสุขภาพมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร, เครื่องใช้ต่างๆ และนำมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการได้มา, การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพ
· Health informatics นี้ถูกนำไปพัฒนาใช้งานในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น Nursing, Clinical care, Dentistry, Pharmacy, Public health หรือ (Bio)Medical research
ระบบสารสนเทศสุขภาพ (Health Information) หมายถึง สารสนเทศที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข และกิจกรรมสาธารณสุข โดยสารสนเทศสุขภาพแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
2. ข้อมูลด้านสถานสุขภาพ
3. ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข
4. ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข
5. ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
1. ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูลประชากร หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับรายละเอียดของบุคคลแต่ละคน เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ ศาสนา เชื้อชาติ สถานที่อยู่อาศัย และข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงประชากร เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) อัตราการเติบโตของ GDP รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อคน เงินทุนสำรอง
ข้อมูลด้านสังคม
- ข้อมูลทางด้านการศึกษา เช่น จำนวนโรงเรียนในแต่ละระดับ จำนวนนักเรียนในแต่ละระดับชั้น ระดับการศึกษา
สูงสุดของประชากร อัตราส่วนนักเรียนต่อครู
- ข้อมูลด้านสังคม เช่น อัตราการว่างงาน ความเชื่อของประชาชนต่อสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อัตราการออกกำลังกาย อัตราการสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด
- ข้อมูลด้านการเมือง เช่น อัตราการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง อัตราการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสาธารณประโยชน์ชุมชน อัตราการใช้สิทธิเลือกตั้งในแต่ระระดับ นโยบายของรัฐในด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ข้อมูลลักษณะของบ้าน วัสดุที่สร้าง ความสะอาดบริเวณบ้าน การใช้ส้วม การกำจัดขยะ เป็นต้น โดยมีประโยชน์คือเพื่อให้ทราบสถานภาพ และวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพได้ตรงจุด
2. ข้อมูลด้านสุขภาพ
หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคคลและชุมชน ตั้งแต่เกิด เจ็บป่วยจนตาย ข้อมูลด้านนี้จึงเป็นเรื่องราวของสถิติชีพ (vital statistics) อันได้แก่ ข้อมูลการเกิด การเจ็บป่วย และการตาย
3. ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข
ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลทุกประเภทที่ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขอาจเป็นบุคคลที่ได้รับการฝึกฝนด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ผดุงครรภ์ นักวิชาการสาธารณสุข พนักงานอนามัย หรือเอกชนในรูปอาสาสมัคร สังคมสงเคราะห์ แพทย์แผนโบราณ ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ผู้บันทึกข้อมูลด้านทรัพยากร คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติของหน่วยงาน ได้แก่ หัวหน้าสถานีอนามัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอสาธารณสุขจังหวัด ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมกับปัญหาสาธารณสุขท้องถิ่น
ข้อมูลด้านการเงิน หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณในการทำงานซึ่งอาจได้มาจากหลายแหล่ง เช่น จากรัฐบาล เอกชน องค์กรในหรือต่างประเทศ ผู้บันทึกข้อมูล เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายการต่างประเทศ หรือฝ่ายวิจัย แล้วแต่แหล่งวัตถุประสงค์ของเงินงบประมาณนั้น
ข้อมูลด้านวัสดุ และครุภัณฑ์ หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน สิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการสาธารณสุข อันได้แก่ ยา เครื่องเวชภัณฑ์ สารเคมีต่างๆ วัสดุสำนักงาน ยานยนต์ ผู้บันทึกข้อมูล ได้แก่ เจ้าหน้าที่วัสดุภัณฑ์ของสำนักงาน
4. ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานบริการสาธารณสุขและการปฏิบัติงานบริการสาธารณสุข อันได้แก่ ข้อมูลด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการฟื้นฟูสภาพให้แก่ประชาชน
5. ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ หมายถึง ข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน ควบคุมกำกับงาน วิเคราะห์สถานการณ์ และการประเมินผล ข้อมูลด้านการบริหารจัดการแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ข้อมูลด้านนโยบาย และข้อมูลประกอบการบริหารจัดการ เช่น ดัชนีภาวะสุขภาพ คุณภาพของการให้บริการสาธารณสุข การมีส่วนร่วมของชุมชน งบประมาณที่ได้จากรัฐบาลและเอกชน
ประโยชน์ของสารสนเทศสุขภาพ
ประโยชน์ของสารสนเทศสุขภาพ คือ ทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข เช่น สถานสุขภาพ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชากร ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการสาธารณสุข ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานบริการสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การจัดระบบสารสนเทศสุขภาพ
ขั้นตอนในการสร้างสารสนเทศในระบบสารสนเทศ มี 9 ขั้นตอน ได้แก่
1. กำหนดผู้ใช้
2. กำหนดความต้องการของผู้ใช้
3. กำหนดวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ
4. กำหนดสารสนเทศที่ต้องการจากระบบ
5. กำหนดรายการข้อมูลที่จำเป็น
6. กำหนดแหล่งข้อมูลหรือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและพิจารณาคุณภาพของข้อมูล
7. สร้างฐานข้อมูลและจัดการฐานข้อมูล
8. วิเคราะห์ข้อมูล
9. กำหนดรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศ
องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสารสนเทศ
ประกอบด้วย ความรู้ในศาสตร์รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม และสถิติศาสตร์
ระบบสารสนเทศสาธารณสุข จำแนกตามภารกิจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่อการบริหาร
จัดทำขึ้นเพื่อการบริหารของหน่วยงานและเป็นการจัดการข้อมูลเพื่อการวางแผน ระบบที่ใช้ทั่วไปได้แก่ ระบบสารบรรณ ระบบบัญชี ระบบคลัง ระบบบริหารงานบุคคล ระบบเงินเดือน ระบบรับผู้ป่วย ระบบจองห้อง ระบบคิดเงินและจัดเก็บเงินในการรักษาพยาบาล แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท
- ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพเพื่อคาดคะเนแนวโน้มในอนาคต การวิเคราะห์หาจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์
- ระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมและการจัดการ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางลงมานำไปใช้ควบคุมการจัดการเพื่อใช้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
- ระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมด้านการปฏิบัติงาน ใช้ในการตรวจสอบกิจกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ว่ามีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลหรือไม่
2. ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่อการบริการ เกี่ยวกับการจัดการทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น
- ระบบสารสนเทศการบริการ เกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับผู้ป่วย การรับผู้ป่วย การจำหน่ายผู้ป่วย การส่งต่อ การนัดหมายผู้ป่วย
- ระบบสารสนเทศทางคลินิก เช่น ระบบเวชทะเบียนผู้ป่วย ระบบแพทย์บันทึกข้อมูล วินิจฉัยและสั่งยา
3. ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่องานวิชาการ
เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านสาธารณสุขทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น ระบบการประชุมวิชาการทางไกลทางด้านสาธารณสุข ระบบเครือข่ายสารสนเทศสุขภาพชุมชน ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพสำหรับประชาชน เผยแพร่ความรู้ด้านโรคภัยไข้เจ็บและการดูแลรักษาตัวเอง การเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสาธารณสุข นั้นทำได้โดยเก็บจากการทำสำมะโน เก็บจากการสำรวจตัวอย่าง และเก็บจากลงทะเบียน
ที่มา : ชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ(http://www.safety-stou.com/UserFiles/File/50103_unit3.pdf)
ตัวอย่างการใช้ Health Informatics
รูปที่ 1 Electronic patient chart from a health information system from google.com
รูปที่ 1 เป็นตัวอย่างระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย เช่น ชื่อ, วันเดือนปีเกิด, ที่อยู่, การแพ้ยา, อุณหภูมิและความดันเลือดรายวัน, ข้อมูลการรักษา, ยาที่ให้ผู้ป่วย ระบบนี้จะทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยของสถานพยาบาลบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยรายหนึ่งอาจได้รับการรักษาจากแพทย์หลายคนซึ่งอาจเกิดปัญหาความสับสนเกี่ยวกับการรักษาว่าได้รักษาไปถึงขั้นไหนแล้ว ระบบนี้จะช่วยให้แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดความผิดพลาดได้อีกด้วย
รูปที่ 2 ตัวอย่างระบบลงทะเบียนผู้ป่วย
รูปที่ 3 ตัวอย่างระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
รูปที่ 4 ตัวอย่างระบบบันทึกรายการเครื่องมือแพทย์
รูปที่ 2-4 ที่มา : Health informatics and management in nursing , Professor Dr. Rutja Phuphaibul, Department of Nursing, Faculty of Medicine (http://www.christian.ac.th/~english/international%20conference/data/Sept%208-morning/Dr.%20Rutja.ppt)
สรุป การนำข้อมูลด้านสุขภาพ มาเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศนั้น ช่วยให้การบริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความผิดพลาด เพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาล และสามารถวางแผนการใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นทางด้านบุคคลหรืออุปกรณ์ได้เพียงพอต่อความต้องการ
อ้างอิงเพิ่มเติม : http://www.nmc.ac.th/Faculty_publichealth/database/imagespicture/Untit4.ppt
Link สำหรับดาวน์โหลด ไฟล์ powerpoint คะ :
http://www.beupload.com/download/?875020&A=245467
Link สำหรับดาวน์โหลด ไฟล์ powerpoint คะ :
http://www.beupload.com/download/?875020&A=245467
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น