วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

web 2.0

    What is web 2.0 ?

    เว็บ 2.0 นั้นเป็นคำที่นิยามขึ้นโดยทิม โอไรล์ลีย์ ภายหลังจากงานประชุมโอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547 โดยคำว่าเว็บ 2.0 นั้นไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใดโดยเว็บ 2.0 จะต้องมีคุณลักษณะหลักๆ ดังนี้
    1. "network as platform" คือจะต้องให้บริการหรือสามารถใช้งานผ่านทาง "web browser" ได้ 
    2. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลบน "website" นั้น สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้กับข้อมูลนั้น  
    3. ให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะมีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์มากขึ้น ไม่ใช่แค่เข้ามาชมเว็บไซต์ที่เจ้าของเว็บจัดทำขึ้นเท่านั้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถสร้าง content ของเว็บไซต์ขึ้นมาได้เองหรือสามารถ tag content ของเว็บไซต์ (คล้ายๆการกำหนด keyword ที่เกี่ยวข้องกับ content โดยผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นผู้กำหนดขึ้น) ตัวอย่างเช่น Digg, Flickr, Youtube , Wiki 
    4. Web 2.0 application จะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า RIA (Rich Internet Application) นั่นคือ Web 2.0 application จะมี user interface ที่ดียิ่งขึ้น เช่น คุณสมบัติ drag & drop ซึ่งเราใช้กับใน desktop application ทั่วๆไปก็สามารถใช้ได้บนเว็บเช่นกัน โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการสร้าง RIA เช่น AJAX, Flash
    5.มีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว
    6.มีความรวดเร็ว และความง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์  
    7.มีคุณสมบัติที่เรียกว่า mash-up คือการนำฟังก์ชั่นการใช้งานจากเว็บหลายๆที่ๆมาผนวกเข้าด้วยกัน โดยโอไรล์ลีย์ ได้แสดงตัวอย่างของระดับของเว็บ 2.0 ออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้ 
    • ระดับ 3 - ระดับของการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารของมนุษย์ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น wikipedia,skype และ eBay
    • ระดับ 2 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อนำมาใช้งานออนไลน์ นั้น จะมีประโยชน์มากขึ้นจากการเชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ซึ่งโอไรลลีย์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ flickr เว็บไซต์อัปโหลดภาพที่มีการใช้งานเชื่อมโยงระหว่างภาพ และเช่นเดียวกันระหว่างผู้ใช้งาน
    • ระดับ 1 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีนำมาใช้งานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น google Doc และ iTunes
    • ระดับ 0 - ระดับที่สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น google map
    จากยุค Web 1.0 ถึง Web 2.0
    Web 1.0 นั้นการผลิตเนื้อหาต่างๆจะมาจากเจ้าของเว็บไซต์เท่านั้น ผู้ต้องการข้อมูลก็เข้าไปอ่านจากเว็บไซต์หรือค้นหาผ่าน search engine เป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้เองทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้อ่านกับเจ้าของเว็บไซต์หรือ ผู้พัฒนาเนื้อหาเป็นไปในลักษณะทางเดียว ไม่สามารถโต้ตอบหรือแสดงความคิดเห็นได้สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก Web 1.0 ยังเป็นยุคแรกๆ ที่คนส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มรู้จักอินเทอร์เน็ตทำให้การใช้งานยังไม่หลากหลายมาก นัก ดังนั้นการใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะของการรับส่งข่าวสารผ่านอีเมล์ การพูดคุยโต้ตอบแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่างๆ การดาวน์โหลดเพลงและภาพต่างๆ จากเว็บไซต์ที่ให้บริการ แต่ก็ยังมีแนวโน้มการพัฒนารูปแบบบริการให้กับผู้ใช้งานได้ติดต่อสื่อสารกัน มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากความพยายามที่จะสร้างชุมชนออนไลน์เพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อ สารระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้เข้าชมมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากหลายเว็บไซต์เริ่มมีการนำกระดานข่าว (webboard) มาให้ผู้อ่านหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้แสดงความคิดเห็นต่างๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน แต่ระบบของกระดานข่าวอาจจะยังไม่เอื้อในเรื่องของการเก็บข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ไว้เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นสามารถกลับเข้ามาอ่านได้อีก หรือบางครั้งการจัดเก็บข้อมูลยังไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบเพื่อ ให้ง่ายต่อการสืบค้น รวมถึงผู้ใช้งานเป็นผู้อ่านได้เพียงฝ่ายเดียว ยังไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาหรือโต้ตอบกันได้มากนัก นับได้ว่าเป็นข้อจำกัดที่พบในการใช้งานเว็บไซต์ยุค Web 1.0 ที่ส่งผลให้มีพัฒนาคิดค้นเว็บไซต์ให้อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้มากขึ้น จึงกลายมาเป็นเว็บไซต์ยุค Web 2.0 ในเวลาต่อมา โดยWeb 2.0 มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วตามเทคโนโลยีต่างๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้มากขึ้น ประกอบกับความพยายามของกลุ่มผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่จะสร้างสังคมออนไลน์ (online community) ให้เกิดขึ้น จึงส่งผลให้เว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์ในยุค Web 2.0 จะแตกต่างไปจากยุค Web 1.0 มาก โดยจะเน้นสนับสนุนให้มีการแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันมากกว่าจะเป็นเพียงการเสนอเนื้อหาผ่าน เว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ในปัจจุบันอาจเป็นเพียงใครก็ได้ที่ต้องการเข้ามาเปิด เว็บไซต์ไว้แล้วเชิญชวนให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาและนำ เสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของตนเอง รวมถึงการเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนไฟล์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เพลง ผ่านเครือข่ายออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงจากยุค Web 1.0 ไปเป็นยุค Web 2.0 ได้ชัดเจนมากขึ้น
         


    Interesting Web 2.0 Technology used

    AJAX

    AJAX ย่อมาจาก Asynchronous JavaScript and XML เป็นวิธีการเขียนที่ใช้ JavaScript ร่วมกับ XML เพื่อสื่อสารกับ Server ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่สำคัญมากๆ สำหรับ Web 2.0 application เลยทีเดียว โดย AJAX ใช้สำหรับการสร้าง user interface ที่สามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจาก AJAX จะมีการส่งและรับข้อมูลเฉพาะส่วนที่จำเป็นหรือต้องการเท่านั้น โดยใช้ JavaScript เป็นตัวกลางในการติดต่อกลับไปยัง Server ข้อมูลที่รับส่งนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูป XML สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ AJAX นั้นสามารถทำงานบนทุก Browser ไม่ว่าจะเป็น IE, Fire fox, Opera หรือ Safari ก็ตาม ตัวอย่าง Web 2.0 Application ที่นำ AJAX ไปใช้ก็เช่น Gmail, Google Docs & Spreadsheets, Google Calendar หรือ Lets Prove VO

    SaaS (Software as service)

    เป็น Model ใหม่สำหรับการใช้บริการ software โดยที่แต่ก่อนเราอาจจะต้องซื้อ software เป็น license แล้วนำมา install บนเครื่องเรา แล้วเมื่อถึงเวลาที่ผู้ผลิต update software เป็น version ใหม่เราก็ต้องไป download หรือซื้อ software ใน version ใหม่ และถ้าหากมีผู้ใช้ software เป็นจำนวนมากๆก็จะต้องเสียเวลาและเงินอย่างมากในการ update software แต่ละที ซึ่ง SaaS จะสามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้โดยมอง software เป็นเหมือนบริการ ๆ หนึ่งโดยผู้ใช้บริการเพียงแค่จ่ายค่าบริการ แล้วก็สามารถใช้งาน software ผ่านทาง web browser (web-based software) ได้ทันที เมื่อมีการ update software ก็จะทำเองอัตโนมัติโดยผู้ผลิต SaaS มีข้อดีคือ ผู้ใช้จะสามารถวางแผนงบประมาณสำหรับการซื้อ software ได้มากยิ่งขึ้น (ไม่ใช่ว่าซื้อ software มาแล้วยังต้องจ่ายค่า support, fix bug ตามมาอีก) และใช้เวลาน้อยกว่าในการ update version software แต่ละครั้ง ตัวอย่าง SaaS เช่น web-based email service ต่างๆอย่าง Hotmail,Gmail,Yahoo ที่จะมีการเก็บโปรแกรมและข้อมูลต่างๆไว้ที่ Host แล้วให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ application ต่างๆผ่านทางเว็บได้

    ตัวอย่างเว็บไซต์ยุค Web 2.0 ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

    YouTube

    จุดเด่นของเว็บไซต์ YouTube ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือการเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ upload และแลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอได้อย่างอิสระจากทั่วทุกมุมโลก โดยผู้ใช้งานสามารถชมวิดีโอออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ที่แสดงภาพวิดีโอจากซอฟต์แวร์ Macromedia Flash ซึ่งเป็นโปรแกรมเสริมที่ผู้ใช้งานต้องติดตั้งเพิ่มสำหรับ Web Browser ทั่วไป นอกจากผู้ใช้งานจะชมวิดีโอผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ยังสามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อินเทอร์เน็ตได้อย่าง iPhone หรือแม้แต่เว็บไซต์ทั่วไปในปัจจุบันที่มีการเชื่อมโยงกลับมาที่เว็บไซต์ YouTube ซึ่งเราจะเห็นกันตามเว็บบอร์ดและ Blog ต่างๆ สำหรับรูปแบบเนื้อหาที่มีใน YouTube ในปัจจุบันนี้มีให้เห็นกันค่อนข้างหลากหลายประเภทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ วิดีโอจากทางบ้าน งานโฆษณาทางโทรทัศน์ และบางส่วนที่ตัดมาจากภาพยนตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ทาง YouTube เองก็ยังมีการกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมและจำกัดการใช้งานสำหรับการเผยแพร่คลิปวิดีโอที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน โดยผู้ใช้งานสามารถร้องเรียนและแจ้งให้ทางบริษัทลบข้อมูลดังกล่าวได้

    MySpace

    MySpace จัดเป็นลูกเล่นใหม่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน MSN โดยเปิดตัวครั้งแรกพร้อมกับ MSN เวอร์ชั่น 7 ที่ต้องการให้ผู้ใช้ MSN มีโอกาสได้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้กับเพื่อนในกลุ่ม สำหรับหน้าตาของ MySpace จะคล้ายกับ Blog ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง จะมีทั้งส่วนของการเขียนไดอารี่ออนไลน์ การเก็บรูปภาพ วิดีโอ หรือเพลงต่างๆ รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับผู้ใช้ในกลุ่มอื่นด้วย 

    Facebook

    เป็นเว็บไซต์ลักษณะเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้เพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร Facebook พัฒนาขึ้นโดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “Facebook” ที่มักจะใช้เรียกหนังสือแจกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงเริ่มเรียนปีแรก ซึ่งหนังสือดังกล่าวจะมีภาพและชื่อของเพื่อนที่เรียนด้วยกันเพื่อให้เพื่อนในชั้นเรียนสามารถจดจำและรู้จักกันได้ง่ายขึ้น สำหรับการใช้งาน Facebook ในช่วงเริ่มต้นจะเน้นการใช้งานเฉพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายเครือข่ายออกไปยังมหาวิทยาลัยทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาจนได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้มีการเปิดบริการให้ผู้ใช้ทั่วไปด้วย ปัจจุบันเว็บไซต์ Facebook มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วมากมายทั่วโลก 
    Wikipedia  
    เป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งที่น่าจับตามองอย่างมากเนื่องจากมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังเป็นแหล่งของคลังข้อมูลสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้เองทำให้ปัจจุบัน Wikipedia ได้รับการจัดอันดับจากเว็บไซต์จัดอันดับยอดนิยมอย่าง Alexa.com ว่าเป็น 1 ใน 10 เว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก สำหรับจุดเด่นของ Wikipedia คือการนำเสนอเนื้อหาลักษณะเสรีโดยการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครจากทั่วโลกเข้ามาสร้าง แก้ไข และปรับปรุงเนื้อหาร่วมกันได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ข้อมูลในเดือนธันวาคมปี 2007 ที่ผ่านมา พบว่า Wikipedia มีเนื้อหากว่า 9 ล้านบทความ ใน 253 ภาษา โดยเฉพาะ Wikipedia ฉบับภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหามากกว่า 2,500,000 เรื่องเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไขเนื้อหาได้อย่างอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ Wikipedia กำลังได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า เนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือและถูกต้องมากน้อยเพียงไร

    ผลกระทบของ WEB 2.0

    ผลกระทบของ WEB 2.0 ต่อการตลาด

    หลังจากที่เว็บไซต์ต่าง ๆ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็น WEB 2.0 ก็ส่งผลถึงระบบกลไกทางการตลาดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง eBay ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถซื้อขายกันได้กับคนทั่วโลก (โดยผ่าน internet) และก็ตามมาด้วย Myspace flickr YouTube และอื่นๆ อีกมากมาย เราจะสังเกตได้ว่า WEB ต่างๆ ที่ได้ยกตัวอย่างไปจะมีลักษณะเฉพาะคือ คนดูจะเป็นคนสร้าง Content เอง โดยที่เจ้าของ WEB เหล่านี้ก็ทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ช่องทางที่เปิดโอกาสให้คนได้มีสิทธิในการผลิต Content ลงบน Website เหล่านั้น การพัฒนาของ WEB2.0 จะเป็นการช่วยทำให้ข้อมูล Content ต่างๆ บนอินเตอร์เน็ทมีมากขึ้น และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และที่สำคัญ มันยังได้เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนรวมกับการสร้างฐานข้อมูลมากยิ่งขึ้น สังเกตได้ว่ายุคสมัยนี้ตลาดบนอินเตอร์เน็ทเริ่มเปลี่ยนแปลงให้เป็นตลาด นิช มากขึ้น และ Website 2.0 ก็เป็นรูปแบบของ นิช มาร์เก็ดติ้ง ซึ่งที่จริงแล้วหลักความคิดของระบบ Website 2.0 ก็ไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่นักในการตลาด แต่ก็ถึงว่าต้องต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่ใช้ให้มีความสอดคล้องมากขึ้นให้หลาย ๆ ด้าน เช่น

    การโฆษณา

    ในอดีตการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ นั้นผู้ขายอาจจะทำการสร้าง เว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาและทำการโฆษณาสินค้าที่ตัวเองต้องการขายหรือบริการที่เกี่ยวช้อง โดยชื่อของเว็บไซต์ (Domain name speculation) ก็จะเป็นการตั้งชื่อเพื่อสร้างให้เกิดการจดจำไปถึงตัวสินค้า หรืออาจจะเป็นชื่อเดี่ยวกับบริษัทไปเลยก็ได้ แต่ในปัจจุบัน เมื่อ WEB 2.0 เข้ามากลับเป็นในลักษณะที่ผู้ซื่อ ต้องการซื่อสินค้าใดก็ไม่จะเป็นต้องรู้จักชื่อเว็บไซต์เลยก็ได้ เพียงแค่ทำการค้นหาจากเว็บไซต์ที่เป็น Search engine ก็สามารถที่จะได้รายชื่อของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีสินค้าหรือบริการ ที่คุณต้องการอาจจะรวมถึงข้อมูลรายละเอียดของสินค้าหรือบริการในรูปแบบใหม่ต่าง ๆ เช่น คลิปวีดีโอ YouTubeสาธิตวิธีการใช้สินค้าออกใหม่ หรือ RSS FEED อีกด้วย  

    การชื้อ – ขาย

    ในเรื่องของการทำการค้าก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน เพราะไม่จำเป็นต้องเสียค้าใช่จ่ายในการจัดตั้งร้านค้าให้สิ้นเปลืองทำให้ต้นทุนลดลง ซึ่งส่งผลให้สินค้ามีราคาถูกกว่าตามตลาดทั่วไป ยกตัวอย่าง Ebay.com ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถซื้อขายกันได้กับคนทั่วโลก (โดยผ่าน internet) ไม่ว่าจะขายอะไรหรือจะซื้ออะไรก็สามาระเข้าไปซื้อ ขายได้ที่เว็บไซต์ ซึ่งนั้นก็มีข้อดีหลายประการ เช่น ไม่จำเป็นต้องเดินทาง สะดวกสบาย สามารถที่จะหาสินค้าที่ไม่มีตามร้านปกติได้ เป็นต้น

    การโปรโมชั่น

    การบอกกล่าว ข่าวสารสินค้าหรือบริการใหม่นั้น ทางผู้ขายสินค้าหรือบริการได้มีการปรับเปลี่ยนการโฆษณาให้เป็นไปในลักษณะการสร้างกระแสคลื่นแบบปากต่อปากได้ เนื่องจากสื่อสารของ WEB 2.0 สามารถสร้างปรากฏการณ์แบบปากต่อปากได้ดังไฟลามทุ่ง จากการแนะนำผ่าน Blog ส่วนตัว ซึ่งคุณอาจจะตัดสินใจซื้อครีมชนิดนั้นมาใช้เพราะคนที่ใช้แล้วดีมาเขียนบอกใน Blog หรือเลิกซื้อขนมปังยี่ห้อนั้นไปตลอดชีวิต เมื่อมีคนถ่ายภาพราขึ้นแฮมจากร้านนั้นมาลงให้ดู ซึ่งเป็นสิ่งที่ Web 1.0 ไม่อาจทำได้

    การสื่อสารด้านข้อมูลของสินค้าหรือบริการ

    ถ้าต้องการที่จะทำการ เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงข้อมูลสินค้า แต่ก่อนอาจจะทำได้โดย Webmaster หรือคนดูแลเว็บไซต์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันสามารถสื่อสารตอบโต้ได้ทั้งผู้สร้างเว็บและผู้ใช้เว็บ ดังเช่น Blog หรือการ Post กระทู้ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่งผลถึงการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือรับบริการของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ด้วย

    ผลกระทบของ WEB 2.0 ต่อวัฒนธรรม

    มีหลายประเทศเช่นเดี่ยวกันที่ การพัฒนาทางเว็บเข้าไปทำลายวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ อันนี้ต้องสืบเนื่องมาจากมาการพัฒนาของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มาเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการทางด้าน Internet ทำให้มีการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น Hi-Speed Internet ทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ ในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในเรื่องของการแสดงออก ความต้องการเป็นที่ยอมรับในคนหมู่มาก ในบางครั้งก็นำพาไปในทางที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ YouTube My space ซึ่งเป็นเว็บที่ เปิดให้ผู้ใช้สามารถที่จะนำข้อมูล ภาพ เสียง หรือภาพวีดิโอ ต่าง ๆ มาเผยแพร่เพื่อความสนุกสนาน แต่ก็ดูนำมาใช้ในประเด็นที่ผิดวัตถุประสงค์ โดยบางข้อมูล ภาพ เสียง หรือภาพวีดิโอนั้นมีความไม่เหมาะสม ซึ่งนั้นก็ขึ้นอยู่กันทางด้านวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ ด้วย ในบางประเทศเพื่อเป็นการป้องกันก็มีการสั่งระงับการเข้าใช้บริการของ เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมอย่างนี้ไปเลย

    ผลกระทบของผู้ใช้ระบบ Internet ทั่วไป

    ในการพัฒนาของ WEB 2.0 นั้นส่งผลให้การเข้าถึง เว็บไซต์นั้นทำให้รวดเร็วมากขึ้นเพราะมีเทคโนโลยีที่ ชื่อว่า AJAX ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อีกด้วย เช่น การที่มีการนำโปรแกรมที่ใช้กันในเครื่องคอมทั่วไปนำมาไว้บนระบบ Intenet และการเก็บ ข้อมูลต่าง ๆ ไว้บน Internet เช่นกัน ทำให้เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ที่มีระบบ Internet โดยไม่ขาดตอน อีกประการนอกจากนี้ เรายังสามารถที่เผยแพร่ความรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความชำนาญ หรือชื่นชอบก็สามารถให้พวก Blog MySpace ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เหล่านั้น ให้กับคนทั่วไปได้รับทราบ  

    The next step for internet : Web 3.0

    หลายคนเชื่อว่า web 3.0 จะมาเปลี่ยนโลกอินเตอร์เน็ตให้น่าอยู่มากขึ้น น่าใช้งาน และมันจะทำให้ปัญหาหลายๆ ปัญหาหมดไป Web 3.0 ถูกคิดขึ้นบนพื้นฐานจากปริมาณของข้อมูลใน Web 2.0 ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว แต่การเพิ่มขึ้นของข้อมูลนั้นมันไม่ได้มีคุณภาพเอาซะเลย และจากเหตุผลนี้ทำให้เว็บต่างๆ ต้องมีระบบบริหารจัดการเว็บให้ดีขึ้น ง่ายขึ้น ด้วยรูปแบบ Metadata ซึ่งก็คือการนำข้อมูลมาบอกรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ นั่นเอง ซึ่งอาจจะเรียกว่า Tag ก็ได้ โดยระบบเว็บจะเป็นผู้จัดการในการค้นหาข้อมูลให้เราเอง จึงสามารถคาดการณ์ถึงข้อมูลได้ว่าจะมีการเชื่อมโยงกันอย่างมีระบบระเบียบมากขึ้น Web 3.0 ดูๆ ไปแล้วก็คงเป็นการพัฒนา แก้ไขปัญหาในระบบเว็บ 2.0 มากกว่าการสร้างบนพื้นฐานความรู้ใหม่ โดยเว็บ 3.0 นี้จะไปเน้นเรื่องการจัดการข้อมูลในเว็บมากขึ้น ดีขึ้น และทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเขัาถึงเนื้องหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเอง 

    หัวใจสำคัญของ Web 3.0

    ประกอบด้วยหัวใจหลักๆ 3 ข้อ คือ 
    1. ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือที่เรียกว่า AI ซึ่งจากคำนิยามจะพบว่า เป็นระบบที่เก็บประวัติการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อดูว่าผู้ใช้ชอบเข้าใช้งานเว็บไหนเป็นประจำ เพื่อเก็บข้อมูลไว้ เวลาเราเรียกใช้ระบบจะทำการดึงข้อมูลออกมาให้โดยอัตโนมัต
    2.ระบบ Semantic คือ ระบบที่ทำการจัดเก็บข้อมูลและจัดระบบข้อมูลให้มีระเบียบมากขึ้น เพื่อรองรับข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น
    3.ระบบ Geospatial Web หรือ 3D Web นั่นเอง คือ ทุกอย่างที่มันนำเสนอออกมาจะเป็น VR (Virtual Reality) เกือบทั้งหมด 

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาวนารี มงคลเกียรติชัย  5202112917
2.นางสาวพินทิรา ซิมะลาวงศ์    5202113030

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น