วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

AUGMENTED REALITY

  เทคโนโลยี AR ได้เริ่มมีการคิดค้นมาตั้งแต่ปี .. 2004 ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริงถูกนำมาใช้กับธุรกิจต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีภาพผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ และแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้ใช้สามารถนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้กับการทำงานแบบออนไลน์ที่สามารถโต้ตอบได้ทันทีระหว่างผู้ใช้กับสินค้าหรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมแบบเสมือนจริงของโมเดลแบบสามมิติ ที่มีมุมมอง 360 องศา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปสถานที่จริง
แนวคิดหลักของเทคนิค AR 
คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality) และความเสมือนจริง (Virtual) เข้าด้วยกัน ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น Webcam, Computer, Cloud Computing หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์บน Monitor, บน Projector หรือบนอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ชมได้ทันที อาจมีลักษณะทั้งที่เป็นภาพนิ่งสามมิติ, ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มีเสียงประกอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ออกมาแบบใด พื้นฐานหลักของ AR ที่ยอดเยี่ยมจำเป็นที่ต้องรวบรวมหลักการของ Motion Detection, Beat Detection และ Voice Recognize and Image Processing นอกจากการจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการจับ Voice ของผู้ใช้บริการและประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อเกิดจังหวะการสร้างทางเลือกให้แก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Media ทำอะไรต่อไป โดยกระบวนการภายในของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่
  • การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (Maker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดเเละรูปแบบของ Marker 
  • การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Maker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker เทียบกับกล้อง
  • กระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ จากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง ดังแสดงในภาพ

ภาพที่ 1 : แสดงการทำงานของเทคโนโลยีเสมือนจริง
เทคโนโลยีเสมือนจริงสามารถแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Maker เป็นหลักในการทำงาน (Maker Based AR) และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่างๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Maker-less based AR)
หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง   ประกอบด้วย 
  1. ตัว Maker (หรือที่เรียกว่า Markup)
  2. กล้องVDO กล้องWebcam กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือตัวจับSensor อื่นๆ
  3. ส่วนแสดงผล อาจเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ หรือจอภาพโทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ 
  4. ซอฟแวร์หรือส่วนประมวลผลเพื่อสร้างภาพหรือวัตถุแบบสามมิติ
พื้นฐานหลักของ AR จำเป็นต้องรวบรวมหลักการของการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การตรวจจับการเต้นหรือเคาะ (Beat Detection) การจดจำเสียง (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยนอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการตรวจจับเสียงของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Media ทำงาน 
ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือ
ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile AR) ทำให้ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลหรือข่าวสารได้ทันทีตามคุณลักษณะของซอฟแวร์หรือโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ เเบบที่ผู้ใช้สามารถพกพาได้อย่างสะดวก โดยการเเสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบนหน้าจอของโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้โทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้ระบบเสมือนจริงได้จะต้องมีคุณสมบัติของเครื่อง ดังนี้ 
  • กล้องถ่ายรูป
  • GPS ที่สามารถระบุพิกัดตำแหน่งและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
  • เข็มทิศดิจิตอลในเครื่อง
pastedGraphic.pdf
ภาพที่ 2 : แสดงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงบทโทรศัพท์มือถือ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
  • การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสร้างเครื่องบิน อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยให้ผู้ใช้เรียนรู้การทำงานด้วยการใส่แว่นตาที่จะมีคำแนะนำและจำลองการทำงานแสดงให้เห็นแต่ละขั้นตอนก่อนปฏิบัติจริงแบบสามมิติ

ภาพที่ 3 : แสดงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของบริษัท BMW
  • การประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ เช่น การเรียบเรียงหลักการประยุกต์ใช้ภาพเสมือนจริงทางการเเพทย์ โดยการเพิ่มตัวต่อประสานระบบสัมผัสภาพ 3 มิติ เพื่อเพิ่มความสมจริงในการรักษา นอกจากนี้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้เครื่องมือแพทย์รักษาหรือผ่าตัดผู้ป่วยแบบไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยจริง
pastedGraphic_1.pdf
ภาพที่ 4 : แสดงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงจำลองการผ่าตัด
  • การประยุกต์ใช้ทางด้านธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงกับการซื้อขายทางการเงินด้วยเทคโนโลยี CYBERII โดยระบบสามารถให้ผู้ใช้งานกำหนดบทบาทของตัวแทนจำหน่าย (Finance Dealer) ในสภาพแวดล้อมเสมือนที่สามารถเสนอราคาในการซื้อขาย โดยใช้ลูกบอลสีเหลืองแสดงราคาซื้อและลูกบอลสีแดงแสดงราคาขายทางการเงินเสมือนจริง
pastedGraphic_2.pdf
ภาพที่ 5 : แสดงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการซื้อขายทางการเงิน
  • การประยุกต์กับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น บริษัท ชิเชโด้ นำเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงมาใช้ผ่านกระจกติจิตอลเพื่อจำลองการทดสอบในการแต่งหน้าว่าเหมาะกับลูกค้าหรือไม่ โดยระบบจะซ้อนภาพส่วนของการเเต่งหน้าขึ้นไปบนใบหน้าจริงที่ปรากฏบนหน้าจอในลักษณะของการเปรียบเทียบให้เห็นทั้งก่อนแต่งและหลังแต่งหน้า 
ภาพที่ 6 : แสดงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการแต่งหน้า
  • การประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยว เช่น การนำเทคโนโลยีเสมือนจริงไปใช้เพื่อแนะนำประเทศไทยในงาน “The World Exposition Shanghai China 2010” โดยการนำเสนอเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่เกิดจากการพัฒนาด้านต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง
pastedGraphic_3.pdf
ภาพที่ 7 : แสดงการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการสร้างตัวละคร
ข้อดีจากการนำระบบ AR มาใช้
  1. เป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบและสนใจเทคโนโลยี
  2. ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาตำแหน่งและรายละเอียดของสินค้าที่ตนต้องการได้อย่างถูกต้องชัดเจน
  3. บริษัทสามารถสร้าง Campaign ต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจในตัวสินค้า จึงสามารถดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขาย
  4. เพิ่มโอกาสของการค้าทาง Internet (E-commerce) เนื่องจากการผู้ซื้อสามารถเห็นภาพจำลองของตนและสินค้าก่อนทำการสั่งซื้อสินค้า จึงเป็นการเปิดตลาดให้มีผู้ใช้บริการช่องทางนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ยังส่งผลต่อไปยังผู้ที่ต้องการลงทุนทำธุรกิจ โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเพื่อให้บริการจึงไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ฯลฯ
ข้อเสียจากการนำระบบ AR มาใช้
  1. ไม่เหมาะกับกลุ่มคนที่ low technology หรือกลุ่มคนที่อาจไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากนัก เนื่องจากว่าการนำเสนอด้วยรูปแบบนี้ ผู้ใช้จำเป็นต้องมีกล้อง Web Cam และเครื่องพิมพ์ในกรณีที่เป็นการ print ตัว Marker ผ่านหน้าเว็บไซต์
  2. เข้าถึงผู้บริโภคในกลุ่มที่จำกัด โดยผู้ใช้บริการต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างดี เนื่องจากการใช้เทคโนโลยี AR ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์หลายอย่าง
  3. การที่มีกลุ่มผู้บริโภคจำกัด ทำให้อาจไม่คุ้มกับการลงทุนของบริษัทในการวางระบบเครือข่ายต่างรวมทั้งการทำฐานข้อมูลต่างๆ เช่น การทำฐานข้อมูลของร้านค้า หรือสถานที่
  4. ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐบาล เนื่องจากในการใช้งานอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือต้องใช้ระบบ 3G ซึ่งระบบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้การใช้งานเทคโนโลยี AR ยังอยู่ในวงที่จำกัด

AR ในอนาคต
รูปแบบการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบที่ส่งผลต่อธุรกิจจากการใช้เทคโนโลยี AR หากมีการนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ โดยการค้าขายจะมีตลาดการค้าขายทาง Internet มากขึ้น ร้านค้าก็จะสร้างการแข่งขันโดยผ่านเทคโนโลยี AR มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้า Premium ที่ต้องการดึงดูดลูกค้าระดับบนซึ่งหากได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ เทคโนโลยี AR จะทำให้เกิดการต่อยอดเพื่อพัฒนาในด้านอื่นๆ เพิ่มเติมและจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีการดำรงชีวิต ไลฟ์สไตล์ การท่องเที่ยวและบริการ การเล่นเกม การประชุมทางไกลแบบเสมือนจริง การศึกษาเรียนรู้ทางไกล รวมทั้งพัฒนาการรักษาทางการแพทย์ แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ จะมีความน่าสนใจเพียงใดก็ตาม การให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะใช่ว่ากลุ่มลูกค้าจะเป็นคนที่เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ทั้งหมด การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบปกติก็ยังจำเป็นต้องมีภายในเว็บไซต์ เพื่อรองรับการใช้งานแบบที่ลูกค้าคุ้นเคย โดยอาจนำเสนอในรูปแบบของ Casual Game, Interactive Content หรืออื่นๆ เป็นส่วนที่สามารถรองรับกลุ่มลูกค้าผู้ใช้ปกติไปพร้อมๆ กับกลุ่มลูกค้าผู้ใช้ที่ต้องการได้ลองเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ผู้ใช้งานอาจไม่จำเป็นจะต้องใช้โทรศัพท์มือถือในการใช้เทคโนโลยี AR อีกต่อไป เนื่องจากจะมีการออกแบบอุปกรณ์ที่ให้ผู้ใช้เทคโนโลยี AR สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้น เช่น contact lens, แว่นตา เป็นต้น นอกจากนี้จะมีข้อดีอื่น คือจะมีมุมมองที่กว้างกว่าจอโทรศัพท์มือถือด้วย และในอนาคตอันใกล้นี้ผู้ใช้จะสามารถเล่นเกมแบบ real-time หรือ invite a friend ได้โดยการใช้แค่ แว่นตา AR
pastedGraphic_4.pdf pastedGraphic_5.pdf
ภาพที่ 8 : เลนส์สำหรับใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในอนาคต
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี AR จะมีประเด็นด้านความเป็นส่วนตัว เนื่องจากการใช้ Image-recognition software ควบคู่กับ AR นั้น เพียงแค่เรายกโทรศัพท์มือถือและจับภาพไปยังผู้คนไม่ว่าจะรู้จักคือไม่รู้จัก ก็จะทำให้เราเห็นข้อมูลบุคคลนั้นจาก online profileต่างๆได้ เช่น Facebook, Twitter, Amazon ฯลฯ
อ้างอิง
http://y29.wikidot.com/augmented-reality-5220221057
http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw28.pdf
http://plakim69.wordpress.com/2009/09/04/augmented-reality/
http://www.kwamkid.net/tech/augmented_reality1
http://computer.howstuffworks.com/augmented-reality4.htm
http://images.businessweek.com/ss/09/11/1102_best_iphone_reality_apps/1.htm
http://spectrum.ieee.org/biomedical/bionics/augmented-reality-in-a-contact-lens/0



                                                       5302110035 น.ส.ชนม์ชนก  วงศ์พัฒนกุล
                                                       5302110142 น.ส.ปาลิดา     แซ่ลิ้ม    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น