วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

MiCrO BlogGing

Micro Blogging คืออะไร?
          เป็นการส่งข้อความระหว่างสมาชิกที่มี connection กันด้วยระบบ RSS feed ส่งข้อความผ่านสื่อสองทาง เช่น SMS , instant message, email, Twitter's web site หรือโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับการนี้โดยเฉพาะ ด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จำกัดจึงเกิดคำเรียกอีกคำว่า "micro blogging"
โดยเครื่องมือที่เรียกกันว่า Micro-blogging อย่าง Twitter, Plurk, Dipity, Yammer (เน้นใช้ในองค์กร) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

Plurk  เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการแพร่กระจายของข้อมูลอย่างรวดเร็วไม่น้อยไปกว่า Twitter ซึ่งเป็นการสื่อสารที่พูดน้อย (140 ตัวอักษรเหมือนกับ twitter) แต่ไม่มีการส่งผ่านข้อความเป็น SMS เข้ามือถือเท่านั้น นอกจากนี้ Plurk ยึงมีจุดเด่นที่สำคัญคือ การแสดงข้อมูลเป็นแบบ timeline ทำให้รู้ว่าตอนที่เรา post ข้อความนั้นเป็นเวลาเท่าใด และยังมี Interface เป็นภาษาไทยอีกด้วยทำให้ง่ายต่อการใช้งาน รวมถึงยังมีการกำหนดแต้ม Karmar ซึ่งเรียกว่าแต้มบุญ ที่จะเพิ่มขึ้นหากเรา login เป็นประจำ หรือ post บ่อยๆ หรือลองใช้ feature ต่างๆ ซึ่งจะสามารถได้ Icons หรือ Feature ใหม่ๆ เป็นการตอบแทน

Yammer คือบริการ microblogging รูปแบบหนึ่ง โดยสามารถให้เราสร้างกลุ่มของเราเอง ซึ่งคนที่จะเข้ามาอยู่ในกลุ่มของเราได้นั้นจะต้องใช้ e-mail ภายในกลุ่ม เช่น @hotmail.com @gmail.com ฯลฯ ดังนั้นจุดประสงค์หลักของ Yammer นั่นคือเอาไว้สำหรับคนในองค์กรใช้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วเหมือน เหมือนอย่างแต่มีความเป็นส่วนตัว (องค์กรใครองค์กรมัน) นั่นเอง

และสำหรับไอเดียแรกเริ่มต้องยกให้ Twitter เพราะเจ้าตัว Micro-blogging นี่เองที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกับคนรอบตัวได้ลึกมากขึ้น ทั้งนี้เพราะทุกวันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้หลายช่องทาง แต่ Micro-blogging อย่าง Twitter เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการ post เรื่องราวในชีวิตประจำวันสั้นๆ นั้นก็ไม่ถึงกับจะต้องส่งผ่านทาง email เพราะฉะนั้น Twitter จึงมีข้อจำกัดในการส่งข้อความที่มีศัพท์เรียกว่า "Tweets" จะต้องเป็น plain text ไม่เกิน 140 ตัวอักษรเท่านั้นจะแทรกคำสั่งโปรแกรมอะไรไม่ได้ ยกเว้นแต่ hyperlink มายังเว็บเพจของเรา ที่สามารถใส่ไปได้ โดยระบบจะจัดการต่อให้เอง
           ดังนั้นคนที่ใช้ Twitter โดยมากเป็น blogger ทั่วไปที่ต้องการสื่อสารให้พรรคพวกได้updateแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่มุมไหนของโลก โดยเริ่มมากจากคำถามที่ว่า What are you doing? แต่ข้อเสียในการใช้งานแบบส่วนตัวเกินไปก็มีมาก เช่น การส่ง message ว่า หิวข้าว อยากกินส้มตำ อยากไปดูหนัง ไปเที่ยวกับแฟนมา ไม่ได้อาบน้ำมาสามวันแล้ว ฯลฯ ซึ่งสร้างความรู้สึกที่น่ารำคาญกับผู้รับ Tweets ที่ไม่ได้สนิทสนมด้วย
         เดิม Twitter มีจุดประสงค์สำหรับใช้สื่อสารแบบส่วนตัว และไม่เป็นทางการ จึงเต็มไปด้วยสิ่งที่คนอีกกลุ่มหนึ่งตั้งข้อรังเกียจ แต่ตอนหลังๆ คนเริ่มพยายามนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในทางการตลาดที่ดีวิธีหนึ่งเพราะ Twitter ถือเป็นบริการส่ง SMS แบบ broadcasting โดยไม่เสียค่าบริการ ตัวอย่างการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์เช่น
1. Update ข่าวสารกับผู้อ่าน กลุ่มสมาชิก ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ถ้าหากว่าบริษัทของเรากำลังมีข่าวอะไรจะอัพเดตกับคนทั่วไป ก็ใช้ Twitter แจ้งข่าวได้ ถ้าคนที่สนใจในสินค้าและบริการของเรา เขาอยากติดตามเราอยู่แล้ว การแจ้งข่าวแบบนี้ควรทำให้บ่อยหน่อย อย่างน้อยก็วันละครั้ง เพื่อให้สมาชิก Twitter รู้สึกได้ว่าบริษัทมีความเคลื่อนไหว แต่การแจ้งข่าวก็ต้องเป็นข่าวที่กระทบในระดับบุคคลเช่นมีสินค้าใหม่ออกแล้ววางขายที่ไหน ซึ่งข่าวที่แจ้งนั้นไม่ควรเป็นโฆษณาชวนเชื่อ
2. Customer Support
บางทีการตอบคำถามลูกค้าก็ช่วยในการประชาสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี เช่น Home Depot ที่อเมริกา(http://twitter.com/TheHomeDepot) เปิดให้คนถามเรื่องการซ่อมแซมบ้านทำอย่างไรใน Twitter พนักงาน Home Depot ก็เข้าไปตอบคำถามลูกค้า เช่น ลูกค้าถามว่าประตูห้องน้ำเสียจะแก้ไขเบื้องต้นยังไงได้บ้าง เราก็ตอบคำถามลูกค้าทางนี้พร้อมกับลิงค์ภาพและวิธีการซ่อมแซมประตูในเว็บของ เราทาง Twitter นอกจากจะแก้ปัญหาให้ลูกค้าจนพอใจได้แล้ว ลูกค้ายังอาจติดต่อเราเพื่อซื้อสินค้าของเราเพิ่มเติมอีกก็ได้
3. Feedback
Twitter เป็นอีกช่องทางในการรับคำติชมสำหรับตัวผลิตภัณฑ์และการบริการของพนักงาน ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วมากกว่าช่องทางอื่น เช่นโทรศัพท์ หรือจดหมาย
4. Special Offer
คือหากมีการลดราคาสินค้าพิเศษ ที่คิดว่าจะได้รับความสนใจจากลูกค้า เช่นลดล้างสต๊อก 70% หรือรับสิทธิ์จอง iPhone ก่อนใคร แบบนานๆ ที ซึ่งการ Tweet แบบนี้จะทำให้ลูกค้าจะรู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญกับเขาจริงๆ ไม่ใช่สักแต่โฆษณา
5. ข้อความบ้าๆ
ส่งข้อความที่ทำให้สนุกและเป็นกันเองเข้าไว้ อาจไม่ต้องเกี่ยวกับสินค้าและบริการของเราเลยก็ได้ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบ้านเราค่อนข้างเรียกร้อง ความเป็นกันเองสูงมากกว่าประเทศอื่นๆ
6.ใช้รณรงค์ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ สาธารณประโยชน์กับกลุ่มสมาชิก
7.สื่อสารภายในองค์กร
ใช้สื่อสารข้อความสั้นๆภายในองค์กร ในส่วนที่ไม่เป็นความลับ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารบอกความคืบหน้า update ข้อมูลกันและกัน หัวหน้าทีมที่มีผู้ติดตามมากก็จะได้ประโยชน์มากหน่อย เพราะสามารถสั่งงานได้ฉับพลันทันที รับรายงานได้ทันที
8. ใช้เป็นช่องทางให้ความรู้
สามารถเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ให้ความรู้ที่น่าสนใจแก่สมาชิกกลุ่ม เพิ่ม Value ให้กับผู้มอบความรู้ เช่น จ.ส.100 ข่าวสารบ้านเมืองหรือสำนักข่าว สามารถใช้ส่ง headline news ให้กับสมาชิกโดยทันที
9.ใช้แสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะแบบ real time ในหมู่สมาชิก
          จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้การใช้ Twitter จึงเหมือนกับการสื่อสารทางตรงของสมาชิกผู้หนึ่งกับสมาชิกกลุ่มป้าหมาย ซึ่ง connect กันในระบบ online networking ด้วยวิธี broadcasting sms
วิธีใช้ Twitter?
เมื่อสมัครไปแล้ว เมื่อเราสนใจใครก็สามารถตาม (Follow) เขาได้ แล้วเขาอาจจะ add เรากลับมาบ้าง ซึ่งก็จะทำให้กลายเป็นการสื่อสารถึงกันและกัน ต่อไปก็ต้องพยายามโปรโมทตัวเองด้วยการส่ง email ถึงเพื่อนที่เราอยากให้ใช้ Twitter เขียนบทความให้คนรู้ ทำประชาสัมพันธ์ในชุมชนออนไลน์ที่มีคนที่น่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ แล้วรอดูผล ขณะเดียวกันก็ต้องเริ่ม contribute ด้วยการส่ง Tweets เมื่อทำไปสักพัก  โดยในระบบจะมีสถิติให้สมาชิกดูว่า สมาชิก follow ใครอยู่กี่คน มีคนมา follow สมาชิกกี่คน มี favorite tweets กี่ข้อความ เป็นต้น
ใช้ Twitter อย่างไรให้ถูกต้อง?
          Tweets ที่ส่งออกไปทั้งหมดจะปรากฏอยู่ใน profile สมาชิกและจะอยู่ต่อไปถ้าไม่มีการจัดการและส่วนที่ยังปรากฏอยู่จะแสดงถึงลักษณะความเป็นคุณ (หรือคุณในโลกออนไลน์) อยู่อย่างนั้น ฉะนั้นจงคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย
  • อย่าส่งเสียงน่ารำคาญ เพราะชื่อก็บอกว่าเป็น เสียงนก ดังนั้นถ้าใช้แบบ "เสียงนก เสียงกา" ก็จะไม่มีคนให้ความสนใจได้เหมือนกัน จึงควรต้องระมัดระวัง เลือกคำให้สั้น ให้เหมาะและได้ใจความ เหมือนที่คุณจะใช้หากมีโอกาสได้คุยกับประธานบริหารของธนาคารที่คุณขอกู้เงินในเวลาเพียง 30 วินาที ฉะนั้นจึงอาจต้องฝึกกันบ้าง หรือวางแผนไว้บ้าง
  • อย่านิ่งเงียบไป ต้องส่งข้อความให้คนอื่นรู้ว่ายังไม่ตายไปจากโลกนี้
  • ลองอะไรใหม่ๆดูบ้าง ถ้าสิ่งนั้นจะทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเองมากขึ้น (ถ้าจะคิดแบบธุรกิจ) บางทีกฎเกณฑ์ก็กลายเป็นข้อจำกัดของการประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน
  • ปรับตัวให้เร็ว ถ้าสิ่งที่ทดลองทำนั้นไม่ได้ผล ก็อย่าทู่ซี้ทำต่อไป ไม่งั้นจะเกิดผลเสียตามมา เว้นแต่เชื่อมั่นว่ามันจะได้ผลแต่อาจจะยังไม่ถึงเวลา ก็อยู่ที่การตัดสินใจของตัวเอง
  • อย่าใช้ Twitter เป็น SMS โต้ตอบกับใครเป็นการส่วนตัวจนดูไม่เป็นProfessional ถ้าจำเป็นก็ควรยกหูโทรศัพท์คุยหรือส่ง IM แทน
  • ในกรณีที่ต้องคุยใช้ Tweet บอกใครหรือกลุ่มของใครเป็นการเฉพาะ ควรใส่เครื่องหมาย @หน้าชื่อคนนั้นๆ หรือใช้สีที่แตกต่างกัน
  • เพื่อตัดปัญหาเวลาคนรับ Tweets ไม่ได้ follow ทุกคนในกลุ่มที่เราส่ง SMS เขาจึงได้ข้อความไม่ครบ ทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันได้ จึงควรใช้ถ้อยคำที่ผู้อ่านสามารถจับความได้เป็นดีที่สุด หรือไม่ก็เลือกสื่อสารทางอื่นแทน
  • อย่าพยายามขายอะไรใน tweets เพราะมันจะไม่ work เพราะคนทั่วไปไม่มีใครชอบจดหมายขายสินค้า หรือใช้วิธี hard sell
ท้ายที่สุด Twitter ก็เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสาร หัวใจสำคัญของการสื่อสารอย่างไรก็ยังเป็นเรื่องของเนื้อหาที่เราต้องการ เราต้องทำความเข้าใจกับธรรมชาติของมันเท่านั้นเอง สำหรับบริษัทที่เน้นเรื่องความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่เคร่งขรึม Twitter ก็อาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับเราก็ได้ซึ่งอันนี้ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
วรกมล เกษมทรัพย์ 5202112537
สุวดี สัตยารักษ์วิทย์ 5202113071

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น